วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ฐานข้อมูล ( Database) หมายถึงชุดของข้อมูลที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่อง
ราวเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุดข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลค้า และ ฐานข้อมูล
วิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือบางข้อมูลอาจจะได้มา
จากการประมวลผลข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลกลับไปเก็บที่ตำแหน่งที่ต้องการ

ระบบฐานข้อมูล ( Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของ
ฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ
หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัย
ทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารย์
์ ผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือ
ฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชี
ฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ดังภาพประกอบดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการแต่งภาพลวดลายตาราง Photoshop


ขั้นตอนการการสร้างลวดลายตารางรูป
การปรับ เสริม เพิ่ม แต่งภาพธรรมดาให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นนั้น ในความเป็นจริงมีวิธีการที่หลากหลายมากมายมาก ในเวิร์คช็อปนี้ก็นำเอาตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆมาดัดแปลงให้ภาพกลายเป็นลวดลายตารางรูปด้วยวิธีง่ายๆโดยการใช้เครื่องมือในกลุ่ม Shape เป็นหลัก

ขั้นตอนที่ 1 เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 กดคีย์ D เพื่อตั้ง Foreground/Blackground เป็นสีดำ/ขาว
ขั้นตอนที่ 3 กดคีย์ Ctrl+A แล้วกดคีย์ Ctrl+Shift+J เพื่อแยกภาพออกจากเลเยอร์ Background ไปไว้อีกเลเยอร์ดังรูป


ขั้นตอนที่ 4 ก็อปปี้เลเยอร์รูป โดยกดคีย์ Ctrl+J จะได้ Layer 1 Copy
ขั้นตอนที่ 5 คลิกบนไอคอนรูปตา <Indicates Layer Visibility>หน้า Layer 1 Copy เพื่อซ่อนภาพในเลเยอร์นี้ไว้ก่อน

ขั้นตอนที่ 6 ปรับค่า Opacity ของเลเยอร์ Layer 1 เป็น 40%


ขั้นตอนที่ 7 คลิกเลือกเครื่องมือ Rounded Rectangle


ขั้นตอนที่ 8 กำหนดออปชั่นบาร์ดังรูป


ขั้นตอนที่ 9 คลิกเมาส์ 1 ครั้ง บนภาพจะมีรูปสี่เหลี่ยมสีดำแล้วจากนั้นให้ใช้เครื่องมือ Move โดยการกดปุ่มคีย์ V สำหรับย้ายรูปสี่เหลี่ยมสีดำให้อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ทำแบบนี้ซ้ำๆจนได้รูปสี่เหลี่ยมที่พอใจ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ดังรูป


ขั้นตอนที่ 10 คลิกเลือกเลเยอร์รูปทรงสี่เหลี่ยมทั้งหมด<โดยการกดคีย์ Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกเลเยอร์รูปทรงสี่เหลี่ยมทีละรูป เมื่อคลิกทุกเลเยอร์แล้วให้ลากมาทับปุ่ม Create a New Group>ดังรูป


ขั้นตอนที่ 11 เปิดใช้งานเส้นไกด์อัตโนมัติ โดยเลือกคำสั่ง View àShowàSmart Guides เพื่อจัดตำแหน่งอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่ 12 เลือกเลเยอร์รูปสี่เหลี่ยมทั้งหมด คลิกขวาที่เลเยอร์ใดเลเยอร์หนึ่ง แล้วเลือกคำสั่ง Merge Layers เพื่อรวมเลเยอร์

ขั้นตอนที่ 13 คลิกช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆหน้าเลเยอร์ Layer 1 Copy เพื่อแสดงรูปในเลเยอร์อีกครั้งดังรูป


ขั้นตอนที่ 14 คลิกขวาที่เลเยอร์ Layer 1 Copy แล้วเลือกคำสั่ง Create Clipping Mask ดังรูป


ขั้นตอนที่ 15 จะได้รูปที่เป็นลวดลายตารางสวยงามครับ











ความหมายของสารสนเทศ


ความหมายของสารสนเทศ



สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิด

การเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ

มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้ง

ภายในหรือภายนอกองค์การ


ซีพียู (CPU)


ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของ
อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับ
คอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่า
ซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพ
กับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์


โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์



โครงสร้างหลักๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดแวร์ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ โดยที่หน่วยประมวลผลกลางและตัวควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อกันด้วยบัส (BUS) เพื่อให้เข้าถึงหน่วยความจำหลักที่จะใช้ร่วมกันได้ หน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการคือการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก เพื่อทำงานให้กับโปรเซสที่ร้องขอจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ในระบบ โดยการส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์เหล่านั้น ดักจับสัญญาณการขัดจังหวะ (สัญญาณอินเทอร์รัพต์) จัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและมีส่วนเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้และไม่ผูกติดกับประเภทของอุปกรณ์ ซึ่งจำแนกโครงสร้างหลักของระบบคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้


2. หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้ต้องการเอาไว้ใช้ โดยแยกเป็นหน่วยความจำหลักซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ ROM และ RAM และหน่วยความจำสำรองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก ที่มีหน้าที่นำมาเก็บ ข้อมูลตามที่ต้องการ

3. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่ง ที่รับมาจากส่วนของอุปกรณ์นำเข้ามาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การปฏิบัติตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เรียกว่า การเอ็กซีคิ้ว (execute) หรือการรันโปรแกรม


เลขฐาน


เลขฐาน 2,8,10,16

เลขฐานสอง คือ ระบบตัวเลขที่มีค่าฐานเป็นสอง มีสัญญลักษณ์ 2 ตัว คือ 0 กับ 1

มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 1 2 4 8 16 32 64 128 256......

เลขฐานแปด เป็นระบบตัวเลขที่มีค่าฐานเป็นแปด มีตัวเลขอยู่ 8 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7

มีค่าประจำหลักตั้งแต่ 1,8,64,512.......

เลขฐานสิบ คือ ระบบเลขที่เราใช้กันมาเป็นประจำในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขโดดทั้งหมด 10 ตัว คือ 0 - 9

เลขฐาน 16 มีตัวเลขอยู่ 16 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F


Pipeline

Pipeline คือ เทคนิคทำให้คำสั่งหลายๆ คำสั่งทำงานพร้อมๆ กัน แต่ละส่วนจะทำงานให้เสร็จในส่วนของมัน แต่ละส่วนจะทำงานต่างกัน แต่ละส่วนเรียกว่า "Pipe Stage" และแต่ละส่วนจะทำงานต่อเนื่องเป็นทอด ๆ เขาเลยเปรียบเทียบ pipeline กับสายพานเครื่องจักรไงครับ เวลาที่ใช้เคลื่อนที่จากส่วนหนึ่ง (Pipe Stage) ไปยังอีกส่วนหนึ่ง เราเรียกว่า "Machine Cycle" เนืองจากทุกๆ ส่วนทำงานพร้อมกันดังนั้น ค่า Machine Cycle จะดูจากเวลาที่ใช้ใน Pipe Stage ที่ช้าที่สุด

...เป้า หมายสูงสุดของ Pipeline ก็คือ ต้องการให้ความยาวของ Pipeline แต่ละขั้นตอนเกิดความสมดุล ถ้าขั้นตอนแต่ละขั้นตอนสมดุลกันแล้วเวลาที่ใช้ต่อ 1 คําสั่งใน Pipeline จะเท่ากับการใช้ Pipeline จะส่งผลทําให้เวลาการทํางานต่อคําสั่ง 1 คําสั่งลดลง

...ดังนั้น ถ้ามีจำนวน Pipeline เยอะๆ ก็จะช่วยให้การประมวลผลคำสั่งได้เร็วยิ่งขึ้นไงครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ Pipeline และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยครับ เพราะว่าคำอธิบายการทำงานมันก็เป็นแค่ทฤษฎีครับ

จริงๆ มันก็คือ การออกแบบขั้นตอนการประมวลต่อ 1 คำสั่งให้ใช้เวลาน้อยที่สุดอ่ะครับ จะได้ไม่เปลือง Clock และถ้ามีหลายๆ Pipeline มันก็จะช่วยประมวลผลพร้อมๆ กัน ทำให้เพิ่มความเร็วในการประมวลได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความถี่สัญญาณนาฬิกา (Clock) ให้สูงเสมอไปไงครับ

pipeline จะแบ่งการทำงาน 1 งาน ออกเป็นงานย่อยแล้วทำพร้อมๆกัน เช่นการทำงานของ CPU แบ่งเป็นสมมติว่าแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน
1. อ่านคำสั่ง
2. แปลคำสั่ง
3. ประมวลผล
4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ
5. เขียนค่ากลับไปยังรีจิสเตอร์
พอ อ่านคำสั่งที่ไปแล้วก็จะเริ่มแปลคำสั่งในขณะที่แปลคำสั่งก็อ่านคำสั่งต่อไป เลย (เหมือนที่คุณ PSNR อธิบายแหละ) สมมติว่าแต่ละงานใช้เวลาอย่างละ 1 วินาที ถ้าทำทีละอย่าง 1 คำสั่งจะใช้เวลา 5 วินาที แต่พอใช้ pipeline จะทำให้โดยรวมแล้ว(ไม่นับ 4 วินาทีแรก) ทำได้ 1 คำสั่งใน 1 วินาที ทีนี้มันมีปัญหาตรงที่ว่าการทำงานแต่ละงานบางครั้ง(จริงๆแล้วส่วนใหญ่)มัน ไม่ได้ทำคำสั่งตามลำดับ 1 2 3 .. เช่นการเขียนโปรแกรมโดยใช้เงื่อนไข IF คือพอ pipeline ประมวลผลเสร็จสรุปได้ว่าต้องกระโดดไปทำงานที่คำสั่งอื่น

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่

คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่
ได้ครับ

จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิดแบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue 
            สำหรับวิธีแก้ไขนั้นให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป 
            บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม 
            หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ
2. ปัญหาที่เกิดจากซีพียู 
            ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลยช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว
            ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียวอาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M.ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งในBIOSsert System Disk and Press Enter" 
        อยู่ ๆ เราไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดร์ฟ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดร์ฟ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว  อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร 
            ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดร์ฟซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดร์ฟซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดร์ฟ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน หาของซีดีออดิโอ 
            ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิกOKเพื่อปิดหน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่สาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแ 
            กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วค่ะ เรื่องไดร์ฟ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดร์ฟ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดร์ฟรุ่นเก่าๆ เลยทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่เป็นรอยมากๆมทำอะไรกับเครื่องคุณได้บ้างบางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเราใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดูเหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ในเมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดยไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็นชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่าเหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง ng Interpreter" มันคืออะไร 
            ปัญหาลักษณะนี้จะเกิดจากไฟล์ Command.com นั้นเกิดความเสียหาย หรือถูกลบทิ้งไป ซึ่งทางแก้ไขก็คือให้คุณทำการ ก๊อปปี้ไฟล์ Command.com จากเครื่องอื่น ซึ่งต้องเป็นวินโดวส์รุ่นเดียวกัน หรือจากแผ่น Start Up ดิสก์ที่สร้างจากเครื่อง คุณก็ได้ โดยเมื่อก๊อปปี้ไฟล์ได้แล้วก็ให้ใส่แผ่นในไดร์ฟ A แล้วเข้าไปที่ A : Promt จากนั้นก็พิมพ์คำสั่ง copy a:\command.com c: เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคอมได้เป็นปกติ GATE-A20 Error" มันคืออะไร 
            หากว่าพบข้อความ 8042 GATE-A20 Error ปรากฎขึ้นมา นั่นแสดงว่าชิปที่ควบคุมการทำงานของแป้นพิมพ์บนเมนบอร์ด มีปัญหาหรืออาจเกิดจากปลั๊กเสียบไม่แน่น ให้คุณทำการปิดเครื่องแล้วลองขยับปลั๊กให้แน่นขึ้นดู หากยังไม่หายนั้นแสดง ว่าเมนบอร์ดของคุณมีปัญหาแล้ว ควรที่จะยกไปให้ซ่อมหรือไปเปลี่ยนกับทางร้านที่คุณซื้อมา(ถ้ายังมีประกัน)มเสียงไม่สามารถแสดงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงได้ 
            โดยทั่วไปแล้วการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำได้อยู่ ปัญหาน่าจะเกิดมาจากการ์ดเสียงหรือว่าโปรแกรม DirectX ซึ่งการแก้ไขก็ให้คุณลองนำการ์ด เสียงตัวที่คุณใช้แล้วมีปัญหา ไปลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ดู หรือลองอัพเดต โปรแกรม DirectX ให้สูงกว่าเวอร์ชั่น 6ถ้าหากไม่หายแสดงว่าการ์ดเสียงของคุณมีปัญหาแล้วละค่ะ ot Failure 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เกิดจากคุณอาจลืมแผ่นดิสที่บูทไม่ได้ไว้ในไดร์ฟ A: หรือ แผ่น CD ไว้ในไดร์ฟ CD (กรณีตั้งซีมอสให้บูทที่ซีดีได้) หรือเกิดจากฮาร์ดดิสที่เป็นตัวบูท C: ไม่สามารถใช้งานได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าในซีมอสทำให้ไม่ตรงรุ่นของฮาร์ดิส
            การแก้ปัญหา
           
1.   ตัว Harddisk มีจานแม่เหล็กที่มีผิวเสียหายมากไม่สามรถใช้งานได้อีกต่อไป 
            2.   ขณะที่ทำการScandiskใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือพบพื้นที่เสียหายมากและต่อเนื่องให้ยกเลิกไปทำการFormatแทน(แต่โอกาสที่จะใช้ได้มีน้อยมากเนื่องจากผิวจานแม่เหล็กเสียหายมาก) 
             3.  ตัวควบคุม Harddisk หรือสายแพรที่ใช้ต่อ Harddisk กับ Controler บน MainBoard เสียหรือเสื่อมสภาพ (จะมีโอกาสเกิดน้อยกว่าความเสียหายบนตัว Harddisk เอง) หลังจากทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วยังเกิดอาการดังกล่าวอีกให้ทำการ Format Harddisk ตัวนี้ โดยทำดังนี้ 
            1.   Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk 
            2.   เรียกคำสั่ง Format แบบเต็ม (Full Format) ดังนี้ โดยพิมพ์คำสั่งที่เอพร้อม a:/format c:/s และกด Enter และ ตอบ y และ Enter 
             3.  ในขณะที่ทำการ Format โปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของจานแม่เหล็กถ้าพบจุดเสียที่ใดก็จะทำการบันทึก ไว้ในตาราง FAT ของตัว Harddisk เพื่อไม่ให้โปรแกรม อื่นๆ นำพื้นที่นี้ไปใช้ได้อีก (จุดที่เสียจะเรียกว่า BAD Sector) 
              4. จากนั้นก็สามารถนำไปลง OS Program ต่อไปได้ 
              5. หากยังเกิดอาการดังกล่าวอีกแนะนำให้เปลี่ยนตัว Harddisk ค่ะ คงจะไม่ไหวแล้วจริงๆ arddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน) 
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor 
            2.   ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
            3.   สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม 
            การแก้ปัญหา 
           1.    ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือเปล่า โดยการถอดออกมาแล้ว
ตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ 
            2.   เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า 
            3.   ทดลองเปลี่ยนสายแพรหรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิดเครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
            4.   อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า
14. Sector not fond error reading in drive C:
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   ปัญหานี้จะคล้ายกับอาการ Data error reading in drive C: หรือ BAD Sector แต่ส่วนที่เกิดปัญหานี้จะเกิดกับส่วนของ File Allocation Table (FAT) ไม่ใช่ที่ตัวพื้นที่เก็บข้อมูลจริง 
            2.   ส่วนของฮาร์ดดิสที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ FAT มีปัญหาเช่นเกิดการเสื่อมของสารแม่เหล็กหรือเกิดรอยที่ผิวของจานแม่เหล็ก เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน 
            การแก้ปัญหา 
            1.   ทำเช่นเดียวกับปัญหา BAD Sector แต่ในส่วนโหมดของการ Scan ให้เลือกเป็นแบบ Standard ก็พอ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจในส่วนของ File Allocation Table (FAT) และ Folders และเมื่อโปรแกรมตรวจพบข้อผิดพลาดก็จะทำการซ่อมแซมค่าที่ผิดพลาดนั้นๆ ให้กลับเป็นปกติ หรืออาจบันทึกเป็นชื่ออื่นแต่ตัวข้อมูลจะยังอยู่ซึ่งเราต้องเข้าไปแก้ไขเองอีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดก็ได้แก่ Cross link, Folders error ที่เกิดขึ้นในตาราง FAT ซึ่ง Files ที่มักจะสร้างปัญหาบ่อยๆ ก็ได้แก่ประเภทที่มีส่วนขยายเป็น TMP ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ที่โฟเดอร์ชื่อ TEMP (c:\windows\temp) ซึ่ง Files เหล่านี้ จะถูกสร้างจากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ซึ่งผู้ใช้งานควรที่จะทำการลบ Files พวกนี้ทิ้งเป็นประจำ การลบ temp files ทำได้โดยการเข้าไปที่โฟรเดอร์ดังนี้ และทำการเลือกทุก files และกดปุ่ม DELETE ที่แป้นคีบอร์ด (C:/windows/temp/*.tmp) 
            2.   หากแก้ไขตามข้อแรกไม่ได้ผลควรที่จะทำการ Format ฮาร์ดดิสใหม่ และลงโปรแกรมใหม่เพื่อเป็นการจัดและเริ่มต้นระบบใหม่ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการทำงานของเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนการทำการ Format ฮาร์ดดิสต้องแน่ใจว่าไม่มีความจำเป็นต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส หรือได้สำรองข้อมูลที่สำคัญไว้ในสื่ออื่นๆ แล้ว การ Format ทำได้โดย Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูล และเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล 
            การป้องกันปัญหา: 
            1.   ทำการ Scandisk ทุกๆ สัปดาห์ 
            2.   ลบ temp files ใน Windows/temp ทิ้งให้หมดหลังจากการทำ Scandisk แล้ว (ก่อนทำการ Scandisk และลบ temp file ทิ้ง ควรทำการปิดโปรแกรมทุกตัวก่อนทุกครั้ง) 
            3.   ใช้โปรแกรม Disk Cleanup ช่วยในการลบ files ที่ไม่จำเป็นทิ้งโดยเริ่มต้นที่ Start Menu/Programs/Accessories/System tools/Disk Cleanup จากนั้นทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Temporary files
15. Data Error Reading in Drive C: 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เนื่องจากโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากผิวของตัวจานเก็บข้อมูลได้ 
            การแก้ปัญหา เรียกโปรแกรม Scandisk ขึ้นมาโดย
            1.   ดับเบิลคลิกที่ My Computer 
            2.   ชี้ mouse ไปที่ Drive ที่ต้องการจะทำการ Scan 
            3.   คลิกปุ่มขวาของ Mouse เลือก Properties 
            4.   เลือก TAB Tools 
            5.   กดปุ่ม [Check Now...] บน Windows Properties 
            6.   เลือกรูปแบบการ Scan เป็น [Thorough] 
            7.   ทำเครื่องหมายถูกหน้า Automatically fix errors 
            8.   เริ่มทำการ Scan โดยกดที่ปุ่ม Start 
            9.   เมื่อทำการ Scan จนเสร็จแล้วจะมีหน้าต่างแสดงค่าที่ทำการ Scan ให้ดู (ScanDisk Results- [c:] ให้สังเกตดูที่หัวข้อ bytes in bad sectors ถ้ามีตัวเลขขึ้นแสดงว่าโปรแกรม Scan ตรวจพบส่วนที่เสียหายของผิวจานแม่เหล็กของ Hardisk 
            10. กดปุ่ม close เพื่อทำการปิดโปรแกรม ScanDisk 
            11. ในขณะนี้โปรแกรม ScanDisk จะทำการตรวจสอบส่วนต่างๆ ของ Harddisk เรียบร้อยแล้วและได้ทำการทำเครื่องหมายบริเวณที่ไม่สามารถอ่านได้แล้วลงบนตารางแฟ็ท (FAT=File Allocation Tables), Folders หลังจากทำการ Scandisk เสร็จแล้วอาการดังกล่าวน่าจะหายไป





ประวัติคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

ประวัติคอมพิวเตอร์ประเทศไทย

คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะ
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และใช้ในการทำสำมะโนประชากร โดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติจากนั้นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีใช้ในประเทศไทย ตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2507 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย
กับ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2517 : ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ตลาดหลักทรัพย์ ในด้านการซื้อขาย โดย
ใช้ มินิคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย
โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย

ยุคต่างๆของคอมพิวเตอร์

ยุคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
            1.  ยุคหลอดสุญญากาศ    (พ.ศ. 2488 – 2501)  หลอดสุญญากาศเป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ใช้ประแสไฟฟ้ามากเพื่อเผาหลอดให้เกิด    ประจุอิเล็คตรอน    วิ่งผ่านแผ่นตาราง    ครั้งแรกผลิต    เพื่อใช้งานด้านการคำนวณเลขและพัฒนาเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศสามารถเก็บข้อมูลได้โดยใช้แผ่นแม่เหล็กและเทปแม่เหล็ก
            2.  คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500 – 2507)     นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้ผลิตทรานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก     ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงและใช้กระแสไฟฟ้าน้อยลง          เป็นต้นกำเนิดของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัท IBM ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก  ในปี พ.ศ. 2507 ประเทศไทยได้นำมาใช้ในการศึกษาและสำนักงานสถิติแห่งชาตินำเข้าใช้ทำสำมะโนประชากรเป็นครั้งแรก    ในยุคนี้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณขององค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมยานอวกาศ       และได้มีการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน            3.  คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508 – 2512)  นักวิทยาศาสตร์     ได้ทดลองนำทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก        และเกิดวงจรบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า  ไอ ซี   (Integrated  Circuit : I C)    บริษัท IBM ได้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่มีความซับซ้อนและสามารถคำนวณได้หลายล้านครั้งต่อวินาทีนอกจากนั้นยังมีหน่วยความจำที่จุมากขึ้นด้วย         ขณะเดียวกันก็ได้มีการผลิตหน่วยเก็บข้อมูลมาเป็น  ฮาร์ดดีส (Hard disk)  ที่เก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็ว       คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วอีกทั้งยังมีขนาดเล็กลงที่เรียกว่า    มินิคอมพิวเตอร์   Minicomputer      จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก      เป็นเหตุให้มีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นหลายราย
4.  คอมพิวเตอร์ยุค วี แอล เอส ไอ  (พ.ศ.2513 – 2532)     ได้มีการผลิตวงจรรวมขนาดใหญ่มารวมกันในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก เรียกว่า    วงจร   วี  แอล  เอส ไอ       (Very  Large  Scale  Integrated  circuit : VLSI )  ใช้ทรานซิสเตอร์นับล้านตัวรวมกันบนแผ่นซิลิกอน         ผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์จนพัฒนามาเป็น    ไมโครโปรเซสเซอร์   (Microprocessor)   ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูง      เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ Microcomputer  วงจร  VLSI  อาจจะเรียกว่า ชิป Chip เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาระบบหน่วยความจำหรือฮาร์ดดีส   Hard disk      ให้มีขนาดเล็กลงแต่มีความจุมากขึ้น        เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงเรียกว่า ปาล์มท็อป Palmtop  เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่เรียกว่า Notebook
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เรียกว่ า Desktop  ในยุคนี้ยังได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานในการประมวลคำ
ซอฟต์แวร์ตารางทำงานและซอฟต์แวร์กราฟิก  เป็นต้น
            5.  คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)   เมื่อมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น    ทำงานได้เร็ว       แสดงผลและจัดการข้อมูลได้มากขึ้นทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้พร้อมกันหลายงาน   ขณะเดียวกันก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็น  เครือข่ายขององค์ต่าง ๆ ทำให้การทำงานเป็นกลุ่ม (Work Group) โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN   (Local  Area  Network : LAN) เมื่อมีการเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่ม   เกิดเป็นเครือข่ายขององค์กรเรียกว่า INTRANET  และถ้าหากนำเครือข่ายขององค์กรเข้าสู่ข่ายสากลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกเรียกว่า  INTERNET  ที่มีใช้กันมากปัจจุบัน